การพัฒนาบุคลากร


ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โออิชิจึงมีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ (ThaiBev Global Values) อันเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานร่วมกันที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง คิดสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าในงาน และดูแลใส่ใจผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยในปี 2564 โออิชิได้มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคลากร ดังนี้

-มีการจัดอบรมให้ความรู้ภายในหน่วยงานตามแผนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรรายปีให้แต่ละหน่วยงาน
-มีโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพรููปแบบต่าง ๆ ที่่ออกแบบเพื่่อส่งเสริมและต่อยอดให้บุุคลากรในแต่ละระดับได้พัฒนาศักยภาพของตนเองและเติบโตในองค์กร
-จัดทำแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) โดยจัดทำร่วมกับพนักงาน ครอบคลุมพนักงานในระดับ 4 ขึ้นไป เพื่อปรับปรุงจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็ง สำหรับการเตรียมความพร้อมให้พนักงานที่จะก้าวไปสู่ระดับงานที่สูงขึ้นในสายอาชีพของตน โดยมีการติดตามประเมินผลแผนการพัฒนากับพนักงานและหัวหน้างานอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 6 เดือน
-โออิชิร่วมกับไทยเบฟในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการบริหารงานฝึกอบรมพนักงาน เช่น การลงทะเบียน การบันทึกประวัติฝึกอบรม ตลอดจนการรายงานผลการทดสอบต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือ แท็บเล็ต ทำให้มีการใช้เอกสารลดลง การประมวลผลข้อมูลของการฝึกอบรมสามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งการฝึกอบรมผ่านทางออนไลน์ยังสามารถตอบสนองต่อนโยบาย Social Distancing ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
-จัดโครงการอบรมแบบดิจิทัลผ่านการศึกษาด้วยตนเอง (Oishi Corporate Online Training Program) เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของพนักงานแบบทุกที่ทุกเวลา โดยพนักงานสามารถเลือกพัฒนาในหัวข้อที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเองเพื่อนำมาใช้พัฒนาศักยภาพของตนเองและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากที่เปิดโครงการอบรมดังกล่าวเป็นระยะเวลา 1 เดือน (1-30 กันยายน 2564) พบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมอบรม 31% และผ่านการวัดผล 100% โดยเนื้อหาหลักสูตรแบ่งเป็น 6 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย

(1) Business Effectiveness: การบริหารจัดการงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุง
(2) Team Effectiveness: การบริหารและพัฒนาทีมงานให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด
(3) Marketing and Service Excellence: เพื่อให้สามารถบริการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที
(4) Media and Learning Technology: การผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารและการเรียนการสอนโดยเฉพาะในรูปแบบออนไลน์ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน
(5) Communication Effectiveness: เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร ทั้งในการสื่อสารระหว่างบุคคล และในการสื่อสารกับคนหมู่มาก
(6) Digital Literacy: เพื่อพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น