การบริหารจัดการความเสี่ยง

โออิชิ ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทตามจำนวนที่เหมาะสมเพื่อบริหารความเสี่ยง โดยมีการติดตาม ประเมิน และบริหารจัดการความไม่แน่นอนตามกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของโออิชิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อช่วยให้เห็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่สำคัญและโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สามารถตอบสนองต่อความท้าทายและบรรเทาผลกระทบ รวมถึงใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำและสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อมอบคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้บริโภคและสร้างการเติบโตแก่ธุรกิจอย่างยั่งยืน

โออิชิ ยึดมั่นการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของโออิชิ จึงครอบคลุมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนของบริษัท เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ โออิชิ จึงดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามแนวทางของ COSO: Enterprise Risk Management โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1. โครงสร้างการกำกับดูแล
ครอบคลุมตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี
2. ความเข้าใจในบริบทและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจ วิเคราะห์ติดตาม และสื่อสารปัจจัยเสี่ยงและแนวโน้มสำคัญในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือกลยุทธ์องค์กร
3. กระบวนการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ
ทั้งในระดับองค์กร ระดับจัดการ จนถึงระดับปฏิบัติการ การประเมินความเสี่ยงที่สำคัญและกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงภายใต้กรอบการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง โดยจะต้องสามารถระบุ วิเคราะห์ ประเมิน ตอบสนอง และติดตามกระบวนการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงที่สำคัญทั้งหมดของบริษัท รวมถึงการสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของโออิชิ
4. การติดตาม รายงาน และประเมินผล
มีการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสายงาน ระดับสายธุรกิจ และระดับองค์กร
5. การสร้างวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง
โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับในองค์กร ส่งเสริมให้พนักงานได้พูดคุยหรือเสนอความเห็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารจัดการความเสี่ยงผ่านการทำงานและกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำเวิร์กช็อปร่วมกันในงาน OISHI Group Conference เป็นต้น

กระบวนการบริหารความเสี่ยง
1. กำหนดวัตถุประสงค์
2. ระบุความเสี่ยง/โอกาสทางธุรกิจ
3. ประเมินความเสี่ยง
4. กำหนดมาตรการจัดการและดัชนีชี้วัด
5. รายงาน ติดตาม และประเมินผล


โออิชิ พิจารณา “ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร” จากสาระสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดประเด็นความเสี่ยง ด้านความยั่งยืนขององค์กรที่มีทั้งผลกระทบ และโอกาสต่อธุรกิจ แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1) ระดับ “สูงมาก” (E) 2) ระดับ “สูง” (H) 3) ระดับ “ปานกลาง” (M) และ 4) ระดับ “ต่ำ” (L) การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ ถือเป็นความท้าทายของคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง รวมถึงผู้บริหาร ที่จะต้องหาวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันและมีการติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ โออิชิ ได้ร่วมทำการประเมินด้านความยั่งยืนภายใน (Internal Sustainability Assessment) กับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และผนวกเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเสี่ยงให้เกี่ยวโยงกับกระบวนการดำเนินงานธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่ งยืนและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะเกิดขึ้นภายในองค์กรที่มีการปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและความเสี่ยงให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ดังนั้น เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนและร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการป้องกัน ติดตาม และจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนขององค์กร โออิชิ จึงได้กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจทางธุรกิจ ตั้งแต่การวางแผนงานตามกลยุทธ์ขององค์กร การจัดทำงบประมาณและการปฏิบัติงานในแต่ละวัน โดยพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างความเสี่ยง โอกาสการเติบโตของธุรกิจ และผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียจะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งในการกำหนดกลยุทธ์ การวางแผน การปฏิบัติงานต่าง ๆ หากประเมินว่ามีโอกาสเกิดความเสี่ยงและอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะนำเสนอประเด็นความเสี่ยงต่าง ๆ กับคณะทำงานบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง เพื่อรวบรวมข้อมูลในทะเบียนความเสี่ยงองค์กรและรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงต่อไป นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเข้ารับการอบรมและสัมมนาเป็นประจำทุกปี และนำความรู้มาถ่ายทอดให้ผู้บริหารและพนักงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาที่ยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องด้วย