ห่วงโซ่คุณค่าของโออิชิ

โออิชิ มุ่งเน้นเสริมสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีการการพัฒนากระบวนการของห่วงโซ่คุณค่าทุกขั้นตอน ดังนี้

1. จัดซื้อจัดหา
• มีการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเติบโตไปพร้อมกับโออิชิ โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินค้าและบริการ โดยมีการตรวจสอบผลงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีกระบวนการจัดการที่เหมาะสมและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างยั่งยืน โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินอย่างเป็นระบบ
• มีการวางแผนในการจัดหาวัตถุดิบและทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้า รวมทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบทดแทนในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความต่อเนื่องของธุรกิจ โดยจัดให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอกับคู่ค้าหลักในการจัดหาวัตถุดิบ
• มีการร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ เพื่อผสานความร่วมมือในการจัดหาวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุดิบที่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
• มีกระบวนการจัดซื้อจัดหาที่มีมาตรฐาน โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การบริหารจัดการพลังงาน อาชีวอนามัย และความปลอดภัย รวมถึงการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าและบริการส่งถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
• ใส่ใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยคำนึงถึงผลกระทบหลังการบริโภคด้วย

2. การผลิต
• สร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับเทรนด์ผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี
• มีการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมายและมาตรฐานการจัดการต่างๆ ตามหลักสากล ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และผู้บริโภค เช่น มาตรฐาน ISO 9001 ISO 14001 ISO 22000 GMP HACCP และ BRC
• เลือกใช้วัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
• มีการจัดการด้านความปลอดภัยและสุขลักษณะที่ดีภายในโรงงานและแหล่งผลิตต่างๆ
• ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งด้านทรัพยากรน้ำและพลังงานต่างๆ มีการใช้พลังงานทดแทน การติดตั้งระบบ Solar Rooftop เพื่อนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงมีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3. การกระจายสินค้าและบริการ
• ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพสินค้า และการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพให้แก่ลูกค้า ควบคู่ไปกับการให้บริการอย่างมืออาชีพ
• การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการระบบการขนส่งและกระจายสินค้า เช่น การวางระบบควบคุมวินัยในการขับขี่อย่างปลอดภัยให้แก่พนักงานขับรถ การบริหารการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• ใช้ระบบการกระจายสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อรักษาคุณภาพและความสดใหม่ตั้งแต่ออกจากโรงงานไปจนถึงมือผู้บริโภค
• ขยายสาขาของร้านอาหารในรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะกับสถานการณ์ ตอบโจทย์วิถี New Normal และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โออิชิ ฟู้ด ทรัค รถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ที่รวมแบรนด์ต่างๆ ของเครือโออิชิ เน้นกลยุทธ์สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย และเคลื่อนย้ายได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือร้านโออิชิ ทู โก เปิดให้บริการในรูปแบบ To Go จำหน่ายอาหารพร้อมทานสไตล์ญี่ปุ่น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมเร่งรีบ มีเวลาน้อย ต้องการความสะดวก รวดเร็ว แต่ยังมองหาสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ พกพาได้ง่าย อาทิ ข้าวหน้าญี่ปุ่น สลัด ซูชิ โอนิกิริ อีกทั้งจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับการประกอบอาหารญี่ปุ่นแบบง่ายๆ ได้เองที่บ้าน
• ธุรกิจร้านอาหารขยายช่องทางการขายแบบผสมผสาน โดยการใช้ร้านอาหารเป็นศูนย์กลาง ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระบุสาขา/จุดรับ รวมไปถึงวันและเวลารับสินค้าได้ตามความต้องการ
• โออิชิ เข้าร่วมโครงการ “Packback เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน” ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือ TIPMSE นำหลัก EPR บริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทสู่กระบวนการรีไซเคิล สร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดรับนโยบาย BCG Model ของรัฐบาล ซึ่งหลัก EPR (Extended Producer Responsibility) เป็นการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตสู่การขยายเครือข่ายร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพื่อตอบสนองเป้าหมายในการป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้เกิดการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ขับเคลื่อนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตามเป้าหมายที่รัฐวางไว้

4. การตลาดและการขาย
• มีการปรับแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวิกฤตโควิด -19 เพื่อรักษาการเป็นผู้นำตลาด และสร้างการเติบโต
• ขยายบริการให้ครอบคลุม เช่น การเพิ่มความหลากหลายของเมนูอาหาร โดยใช้ครัวในร้านที่มีอยู่ในปัจจุบันภายใต้ชื่อบริการ “OISHI Kitchen” ส่งผลในการเพิ่มโอกาสการขายให้กับแบรนด์ต่างๆ ที่ไม่มีร้านตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
• นำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับลูกค้า
• มุ่งเน้นการเพิ่มช่องทางใหม่ๆ ในการขายและการเข้าถึงลูกค้า ได้แก่
• Food Aggregator: ขยายช่องทางการขายผ่านพันธมิตร Food Aggregator เพื่อสร้างยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการจัดส่งอาหาร
• eMarket Place: เพิ่มโอกาสในการขายด้วยการทำการตลาดแบบ O2O โดยเข้าไปที่กลุ่มซื้อขายที่มีลูกค้าเป้าหมายผ่านรูปแบบ e-Voucher
• www.shopteenee.com (ช้อปที่นี่ดอทคอม): เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทั้งอาหารและเครื่องดื่มในเครือโออิชิ ผ่าน ‘อีมาร์เก็ตเพลส’ แพลตฟอร์มในรูปแบบเว็บไซต์และโมบายล์แอปพลิเคชั่น
• BevFood: แอปพลิเคชั่นที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าแบบครบวงจร โดยสามารถใช้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ในแอปพลิเคชั่นเดียว เช่น การสั่งอาหารออนไลน์พร้อมบริการจัดส่งถึงที่ หรือเลือกรับที่สาขา การจองโต๊ะ รวมไปถึงการสะสมแต้มสมาชิก และการเปลี่ยนแต้มเป็นคูปองเงินสด
• สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าผ่านแคมเปญการตลาดที่หลากหลาย รวมทั้งการสร้างสรรค์แอปพลิเคชั่น OISHI Club ของธุรกิจเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคสำหรับร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมสิทธิพิเศษในการลุ้นและแลกของรางวัล อีกทั้งเป็นการสร้าง Brand Loyalty และความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบชาเขียวโออิชิอีกด้วย ขณะที่ธุรกิจอาหารมีแอปพลิเคชั่น BevFood ที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าแบบครบวงจร ทั้งการสั่งอาหารและสะสมแต้มจากการใช้บริการ คะแนนสะสมแลกเป็นคูปองส่วนลดแทนเงินสด กดรับ e-Coupon เพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่แต่ละแบรนด์จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
• สื่อสารและประชาสัมพันธ์ถึงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและสังคม และกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภค พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภคผ่านช่องทางติดต่อสื่อสาร เพื่อนำมาพัฒนาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด

5. การบริการหลังการขาย
• มีทีมงานประสานงานกับลูกค้ากรณีเกิดเหตุที่ทำให้ลูกค้าเกิดข้อสงสัย หรือไม่พอใจในผลิตภัณฑ์และบริการ
• บนฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโออิชิ มีหมายเลขคอลล์เซ็นเตอร์รับเรื่องร้องเรียนและติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถทำการติดต่อเพื่อเสนอแนะหรือร้องเรียนได้ รวมถึงช่องทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของทางโออิชิด้วย
• มีการจัดทำ QR Survey เครื่องมือการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจหลักในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า โดยระบบจะแสดง Unique QR Code ที่ลิงก์กับการเข้ารับบริการของสาขานั้นๆ บนใบเสร็จ การแสดงความคิดเห็น แนะนำ ติชมผู้ใช้บริการเพียงแค่แสกน จากนั้นระบบจะนำไปสู่ขั้นตอนต่างๆ ในทันที และหากมีประเด็นใดที่ได้คะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน ระบบจะดึงเข้าสู่ข้อร้องเรียนและนำส่งข้อมูลไปยังสาขาที่ให้บริการเพื่อทำการแก้ไขในทันที ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการปรับกระบวนการเก็บข้อมูลลูกค้า ส่งผลให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น